วิธีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กโทรนิกส์ (เครื่องหมาย DBD) สำหรับร้านออนไลน์

วิธีจดทะเบียนการค้า

เวลาที่เราเข้าไปช็อปปิ้งตามเว็บร้านออนไลน์ใหญ่ๆ เราคงเคยเห็นสัญลักษณ์สีม่วง DBD ปรากฏอยู่แทบในทุกเว็บร้านค้าเลยใช่มั้ยล่ะคะ ขอบอกว่าสัญลักษณ์นี้ไม่ใช่อะไรที่เอามาประดับกันสวยๆ แต่เป็นสัญลักษณ์ของ “ธุรกิจ/ร้านค้า ที่ผ่านการจดทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์” มาแล้ว ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ร้านออนไลน์ดูน่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ และที่สำคัญที่สุด… ลูกค้าสบายใจที่จะซื้อของมากขึ้นด้วย เพราะรู้สึกมั่นใจในความปลอดภัยนั่นเองค่ะ

สัญลักษณ์ DBD registered เป็นสิ่งที่ทำให้ร้านค้ามีตัวตน รู้ว่ามีเจ้าของที่ตามตัวได้ มีที่อยู่ที่ชัดเจน เวลาเกิดอะไรขึ้นลูกค้าก็จะอุ่นใจ เพราะเป็นจดทะเบียนที่ได้รับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้ ร้านค้าที่ผ่านการจดทะเบียนและได้เครื่องหมายนี้มาประดับร้านค้าแล้ว ยังได้สิทธิพิเศษอื่นๆอีกมากมาย เช่น ชื่อร้านค้าจะถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ของกรมฯ เวลามีคน Google ชื่อร้านของเรา ก็จะเจอง่ายขึ้น และรู้สึกว่าน่าเชื่อถือมากขึ้นเวลาเสิร์จเจอจากเว็บนี้ รวมไปถึงการได้สัญลักษณ์ที่อัพเกรดขึ้นกว่าเดิมเป็น DBDverified ในกรณีที่ได้สัญลักษณ์ DBD registered มาแปะบนเว็บนานเกิน 6 เดือน ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าขึ้นได้อีก! และสิทธิ์ในการรับข่าวสาร งานสัมมนา และข้อมูลเด็ดๆ สำหรับเจ้าของธุรกิจในวงการ e-commerce ที่กรมฯ จะส่งตรงถึงมือคุณ

ตัวอย่างการนำสัญลักษณ์ DBD ไปแปะบนเว็บไซต์

อยากได้สัญลักษณ์นี้บ้าง ต้องทำอย่างไร?

1. ตรวจดูก่อนว่า ธุรกิจของตัวเองเข้าข่ายที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเปล่า? โดยมี 4 ประเภทธุรกิจ ดังนี้

– ธุรกิจที่มีการซื้อ/ขาย ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (ร้านออนไลน์)

– ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)

– ผู้ให้บริการ Web Hosting

– ผู้ให้บริการตัวกลางในการซื้อขายบนอินเตอร์เน็ต (พวก LAZADA, Kaidee, iTruemart ฯลฯ)

2. ทำเว็บไซต์ที่เราจะใช้ขายของให้เรียบร้อย อัพรูปสินค้า คำบรรยาย ราคา วิธีชำระเงิน และวิธีจัดส่งให้ครบ โดยจะสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเอง ไปจ้างคนทำเว็บให้ หรือเปิดร้านบนเว็บที่ให้บริการเป็นเว็บช็อปปิ้งสำเร็จรูปก็ได้ เช่น InwShop, weloveshopping, Bento Web ฯลฯ

3. ทำเรื่องยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานเขตใกล้บ้าน

4. เมื่อจดทะเบียนผ่านแล้ว จึงทำเรื่องขอใช้เครื่องหมาย DBDregistered

เอกสารที่ต้องใช้

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของร้าน

2. แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (ดาวน์โหลดแบบ ทพ. คลิกที่นี่)

– คนธรรมดากรอกแค่ข้อ 1-8

– คณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วน กรอกข้อ 1-8 และข้อ 11

– บริษัทจำกัด กรอกข้อ 1-8 และข้อ 12

3. รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (ดาวน์โหลดเอกสารรายละเอียดแนบแบบ ทพ. คลิกที่นี่) กรอก 1 ใบ ต่อ 1 เว็บไซต์ (Copy เอกสารชุดนี้ไว้ตอนขอใช้เครื่องหมาย DBDregistered ด้วยเลย)

4. เอกสารการจดโดเมนเนม (เฉพาะกรณีที่มีเว็บไซต์และชื่อผู้จดทะเบียนโดเมนเนม ต้องเป็นชื่อเดียวกันกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์)

5. Print หน้าแรกของเว็บไซต์ , สินค้า/บริการที่ประกอบพาณิชยกิจ และวิธีการสั่งซื้อสินค้า/บริการ วิธีการชำระเงิน วิธีการส่งสินค้า

6. แผนที่ตั้งร้านค้า

7. หนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (กรณีจดในนามนิติบุคคล)

8. หนังสือมอบอำนาจ (ดาวน์โหลดหนังสือมอบอำนาจ คลิกที่นี่) พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้คนอื่นดำเนินการแทน)

มี วิธีจดทะเบียนการค้า อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ไหน?

1. สำหรับคนที่มีสำนักงานที่ตั้งร้านค้าอยู่ในกรุงเทพฯ ให้เดินทางไปที่สำนักงานเขตใกล้บ้านท่าน หรือที่ศาลาว่าการกรุงเทพฯ ได้เลย

2. สำหรับคนที่อยู่จังหวัดอื่นๆ ให้เดินทางไปยื่นเอกสารคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ที่องค์การบริการส่วนตำบลใกล้บ้าน หรือ ที่เทศบาล ก็ได้

 

การนำสัญลักษณ์ DBDregistered มาใช้ / มาแปะไว้ที่หน้าเว็บ

1. สแกนเอกสารที่คุณมีดังต่อไปนี้ลงคอมของคุณก่อน

– เอกสารใบจดทะเบียนพานิชย์ที่เราเคยขอไว้จากขั้นตอนที่แล้ว (แบบพค. 0403)

– เอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบแบบ ทพ.)

– สำเนาเอกสารการจดโดเมนเนม

2. ส่งหลักฐานเอกสารที่เราแสกนไว้ ไปที่อีเมล e-commerce@dbd.go.th

3. รออีเมลตอบกลับ พร้อมโค้ดการนำไปใช้

*** ใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ใครรอนานกว่านั้น ลองโทรไปถามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลยค่ะ ***

รายละเอียดเพิ่มเติม หากตรงไหนที่ยังสงสัย สามารถศึกษาได้จากเว็บของกรมฯ ได้เลยที่ www.dbd.go.th

 

38 thoughts on “วิธีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กโทรนิกส์ (เครื่องหมาย DBD) สำหรับร้านออนไลน์

  1. Pingback: generic depakote
  2. Pingback: effexor vs prozac
  3. Pingback: diltiazem antidote
  4. Pingback: diclofenac cream
  5. Pingback: generic for celexa

ใส่ความเห็น